ผ่านไปครึ่งปีแรก ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาทำไปได้ 51,725 ล้านบาท ทีวีดิจิทัลครองเม็ดเงินเพิ่ม14,100 ล้านบาท เบียดทีวีช่องเดิม ที่ได้งบโฆษณา 19,159 ล้านบาท ทีวีไดเร็ค ยังครองแชมป์ ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุด ส่วนแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้นมากจนติดอันดับ คือ น้ำแร่ช้าง ธนาคารกสิกรไทย และคิงเพาเวอร์ ผลจากเป็นสปอนเซอร์ฟุตบอลโลก
นีลเส็นประเทศไทยเปิดเผยถึงงบโฆษณาในช่วงครึ่งปี 2561 (ม.ค.-มิ.ย.61) พบว่า ใช้ไป 51,725 ล้านบาท ติดลบ -1.57 %
ที่น่าสนใจช่องทีวีเดิม (Traditional Channel ช่อง 3,7,9) ครองเม็ดเงินโฆษณาลดลง เหลือ 19,159 ล้านบาท ติดลบไป 13.10% คิดเป็นสัดส่วน 37.04% สะท้อนว่า เม็ดเงินโฆษณาถูกใช้ไปกับทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เม็ดเงินไป 14,100 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.26% เพิ่มขึ้น 3,066 ล้านบาท หรือ 27.79%
ส่วนสื่อที่ใช้เม็ดเงินรองลงมาคือสื่อโรงภาพยนตร์ 3,836 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.24% เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน 12.46%
ตามมาด้วยสื่อนอกบ้าน 3,344 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.41% ครองสัดสวน 6.46%, สื่อรถประจำทาง 2,967 ล้านบาท ลดลง -3.36%
หนังสือพิมพ์ 2,903 ล้านบาท ลดลง 25.79% ตามมาด้วย วิทยุ 2,253 ล้านบาท ถือเป็นสื่อหลักที่ยังไปต่อได้ มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น 5.13%
เคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 1,240 ล้านบาท ติดลบ -23.12% อินเทอร์เน็ต 762 ล้านบาท ลดลง 0.13 (ดูหมายเหตุประกอบ) นิตยสาร 648 ล้านบาท ติดลบ-36.96% สื่อ ณ จุดขาย 512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%
ครึ่งปีแรก เม็ดเงินยังคงเป็นของ ทีวีไดเร็ค ที่เป็นหนึ่งในโฮมช้อปปิ้ง ยังคงทุ่มเม็ดเงินโฆษณาในช่องทีวีช่องต่างๆ ที่มีเวลาโฆษณาเหลือ
ส่วนแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้นมากจนติดอันดับ คือ น้ำแร่ช้าง ของค่ายไทยเบฟ ธนาคารกสิกรไทย และคิงเพาเวอร์ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเป็นแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์ฟุตบอลโลก
โดยแบรนด์ที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดครึ่งปีแรก เป็นของ ทีวีไดเร็ค 1,282 ล้านบาท อันดับ 2 ธนาคารออมสิน515 ล้านบาท อันดับ 3 โค้ก 468 ล้านบาท อันดับ 4 น้ำแร่ช้าง 404 ล้านบาท
อันดับ 5 เทสโก้ โลตัส 379 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือซัมซุง อันดับ 7 รถยนต์นั่งโตโยต้า 344 ล้านบาท อันดับ 8 อีซูซุ ปิกอัพ 330 ล้านบาท อันดับ 9 ธนาคารกสิกรไทย 319 ล้านบาท อันดับ 10 คิงเพาเวอร์ 309 ล้านบาท
ส่วนองค์กรที่ใช้เม็ดเงินสูงสุดอันดับ 1 เป็นของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 1,937 ล้านบาท เนื่องจากมีสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือจำนวนมาก แต่การใช้เงินลดลงเยอะ
อันดับ 2 บริษัท ทีวีไดเร็ค 1,282 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย 1,125 ล้านบาท อันดับ 4 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 720 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โคคา โคลา ประเทศไทย720 ล้านบาท
อันดับ 6 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (AIS) 686 ล้านบาท อันดับ 7 ตรีเพ็ชร อีซูซุ 672 ล้านบาท อันดับ 8 เนสเล่ (ไทย) 648 ล้านบาท อันดับ 9 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด (นีเวีย) 643 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 605 ล้านบาท.
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit), ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา
อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : positioningmag.com