การทำอะไรที่มีปฏิสัมพันธ์หรือทำปฏิกิริยาโต้ตอบกลับได้นั้นมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง เพราะทำให้ผู้ใช้นั้นได้รู้สึกได้ตอบโต้ หรือได้ทำการเรียนรู้ผ่านการลงมือ ที่ทำเรียนรู้มากกว่าการอ่านอย่างเดียวนั้นเองข้อดีอย่างมากคือทำให้เกิดความจำขึ้นมาอย่างระยะเวลายาวนาน แถมผู้ใช้ยังใช้เวลาและสนุกกับสิ่งที่ปฏิสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว การสร้างอะไรที่เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบเหล่านี้ในทางดิจิทัลเรียกว่า Interactive นั้นเอง
การทำ Interactive ส่วนใหญ่จะพบกับเกมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องให้ผู้ใช้ออกแรงในการมาเล่นและทำปฏิกิริยากับเกมนั้น ๆ และที่ผู้ใช้ยอมมาเล่นกับเกมเหล่านั้นเพราะความสามารถของ Interactive พวกนี้คือการที่สามารถทำให้ความสนุก ให้ความรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ กับผู้บริโภค แถมยังสามารถเชื่อมกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาเล่นและตอบสนองความสนใจของผู้เล่นได้ในเวลาเดียวกัน ด้วยการที่ Interactive สามารถทำอะไรได้มากมาย การเอามาประยุกต์ใช้กับ Content ทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารสามารถสร้างความน่าสนใจและสามารถแทรกเรื่องราวของแบรนด์เข้าไปได้อย่างแนบเนียนอีกด้วย
ข้อดีของการทำ Interactive Content
1. Real User Data : ด้วยการทำ Interactive Content ทำให้นักการตลาดสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้มาได้ด้วย ด้วยการที่มีเครื่องมือนี้สามารถมาวิเคราะห์ Perserna ของผู้ใช้ซึ่งสามารถทให้เราได้เหตุผลต่าง ๆ หรือข้อมูลต่าง ๆ ของผู้บริโภคที่สามารถทำให้เข้าใจได้ว่าผู้บริโภคเข้ามาที่เนื้อหานี้เพราะอะไร กดเล่นตรงไหน มีความสนใจอะไรบ้าง และมีความเห็นอย่างไร ซึ่งสามารถทำให้เข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้นนอกจากการใช้ข้อมูล demographc หรือ social listening ต่าง ๆ ออกมา
2, เพิ่ม Engagement rate : แน่นอนการทำ Interactive Content นั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่ต้องมการกระทำต่าง ๆ กับ Cotnent นั้นออกมา สิ่งนี้เองทำให้เกิด Engagement ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพิ่มได้อย่างมาก เพราะผู้เล่นจะใช้เวลาและใช้ปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหานั้นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังสามารถส่งผลไปถึงการแชร์ต่อไปได้อย่างมากอีกด้วย เนื้อหาที่เป็น Interactive Content เหล่านี้สามารถเชื่อมกับผู้บริโภคได้ สามารถทำให้ผู้บริโภคติดแบรนด์ขึ้นมาแถมเพิ่มศักยภาพของ Conversion rate ได้ด้วย
3. Remarketing : ด้วยข้อมูลที่เก็บจาก Interactive Content นั้นสามารถเอาข้อมูลเหล่านี้มาสร้างการทำ Remarketing ต่อได้ด้วย เพราะข้อมูลที่เก็บมาในขั้นต้นสามารถเอาสมาร5สร้าง Persenalised Content ต่อไปให้กับคนที่เข้ามาเล่นเนื้อหานั้น ๆ จากความชอบหรือ interactive ที่ชอบได้ ทำให้แบรนด์สามารถสามารถสร้างความสนใจหรือครองความสนใจผู้บริโภคได้ง่ายมากขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ด้วยข้อดีต่าง ๆ นั้น การทำ Interactive Content สามารถเอามาประยุกต์ในการทำให้แบรนด์มีความน่าสนใจต่าง ๆ เข้าไปได้ หรือสามารถแสดงผลเนื้อหายาก ๆ ออกมาสู่การทำ Interactive ที่ทำให้ย่อยได้ง่ายมากขึ้น หรือทำให้มองเห็นภาพมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นได้อีก ดังเช่นเอามาใช้กับ
Infographic การเอา Interactive มาใส่ Infographic นั้น ทำให้ Infographic ธรรมดาที่ต้องทำความเข้าใจ และอ่านเฉย ๆ กลายมามีลูกเล่นที่สามารถทำให้ผู้บริโภคอ่านได้ง่ายมากขึ้น รู้ว่าจะต้องอ่านตรงไหนก่อนและหลัง แถมยังเข้าใจการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายมากด้วย สิ่งสำคัญคือยังทำให้รู้สึกสนุกได้มากกว่า Infographic ธรรมดาอีกตั้งหาก จากตัวอย่างที่เคยมีมาในการทำ Interactive Infographic นั้นจะเห็นได้ว่ามีความสนใจอย่างมากมายจากผู้บริโภค ไปจนถึงสื่อต่าง ๆ ที่เอาไปแชรืต่อ ซึ่งได้ผลมากมายจนทำให้แบรนด์รู้จักขึ้นมาได้
Whitepaper การทำ Whitepaper นั้นปกติแล้วจะเป็นเหมือนเอกสารรายงานที่น่าเบื่อมาก ๆ สำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับคนที่จำเป็นต้องอ่านหรือต้องใช้นั้นกระบวนการอ่านก็เหมือนอ่านตำราเรียนเล่มหนึ่งที่มีความน่าเบื่อแต่จำเป็นในการอ่าน แต่ถ้าใส่ Interactive เข้าไปก็สามารถทำให้การอ่านหรือเรียนรู้เรื่องราวใน Whitepaper นั้นง่ายมากขึ้นไปอีก แถมทำให้การเรียนรู้เกิดความจำและเข้าใจได้ดีอย่างมาก แถมทำให้แบรนด์นั้นประทับเข้าไปในความคิดระหว่างการอ่านได้มากขึ้นด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นใน Whitepaper คือแบรนด์สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อดูว่าเนื้อหาใน Whitepaper ไหนคนชอบบ้างได้ด้วย และสามารถทำการติดต่อผู้ที่เข้ามาเล่นเพื่อทำการขายต่อไปได้ด้วย
ด้วยการเอา Interactive มาใส่ในเนื้อหาต่อไปนี้ทำให้เราสามาถรเพิ่มศักยภาพเนื้อหาของแบรนด์มากมาย ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสนุกกับแบรนด์ และทำให้แบรนด์นั้นสามารถเก็บข้อมูลมาใช้ต่อได้ ต่อยอดการสร้างแบรนด์เข้าไปอีก ทำให้การทำ Interactive Content นี้เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจอย่างมากในการช่วยที่จะทำให้แบรนด์นั้นเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : marketingoops.com