Contact us on +668 4668 1993 or aspasign2020@gmail.com

‘เลือกตั้ง’ สื่อ เงินสะพัด‘ออนไลน์-OOH’รับทรัพย์

‘เลือกตั้ง’ สื่อ เงินสะพัด‘ออนไลน์-OOH’รับทรัพย์
February 10, 2019 dhammarong

สื่อออนไลน์-สื่อนอก บ้านเตรียมรับทรัพย์ อานิสงส์เลือกตั้งดันเม็ดเงินโฆษณาสะพัด 300-500 ล้านบาท ขณะที่ทั้งอุตสาหกรรมโต 5% เผยกฎเข้มกกต. จำกัดงบ-ห้ามใช้สื่อทีวีทำซบเซา แนะใช้เครื่องมือถูก คอนเทนต์ดี สร้างเรื่องราวโดนใจ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แน่

หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป สื่อต่างๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ถูกหยิบมาใช้เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และระอุยิ่งขึ้นเมื่อผ่านพ้นวันรับสมัครส.ส. และการประกาศเกณฑ์ การหาเสียงผ่านสื่อต่างๆ การชูนโยบายพรรค การแนะนำผู้สมัคร สร้างการรับรู้ ถูกโหมกระหนํ่าผ่านสื่อต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะป้ายโฆษณาเหมือนในอดีตอีกต่อไป

โดยพบว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เห็นเป็นรูปธรรม และชัดเจนคือในปี 2554 ซึ่งในปีนั้นพรรคการเมืองต่างๆ มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อประเภทต่างๆ รวมเกือบ 300 ล้านบาท โดยในยุคนั้นสื่อที่มีอิทธิพลและมีการใช้เงินสูงสุด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อทีวี ขณะที่ในปีนี้แนวโน้มการใช้สื่อของพรรคการเมืองน่าจะแตกต่างไปจากอดีต โดยสื่อที่มีอิทธิพลอันดับต้นๆ คือ สื่อออนไลน์ เนื่องจากเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภครวดเร็ว ตรงกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ราคาถูก และสามารถชูนโยบายได้ครบถ้วน ขณะที่สื่อรองลงมา ได้แก่ สื่อนอกบ้าน (Out of Home : OOH) ที่จะช่วยตอกยํ้าเบอร์ผู้สมัครให้อยู่ในใจผู้เลือกตั้งได้อีกครั้ง

เปรียบเทียบกับการเลือกตั้งในปีนี้ ที่พบว่าจำนวนข้อมูลประชากรไทยที่มีสิทธิการเลือกตั้งในปี 2562 ที่มีจำนวนราว 51 ล้านคน แบ่งเป็นสัดส่วนประชากรอยู่ที่ กลุ่มคนอายุ 18-26 ปี จำนวนกว่า 8 ล้านคน อายุ 27-35 ปีจำนวนกว่า 8 ล้านคน อายุ 36-50 ปี จำนวนกว่า 15 ล้านคน อายุ 51 ปีขึ้นไปเกือบ 20 ล้านคน ซึ่งส่วนตัวมองว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้กลุ่มคนที่ยังไม่เป็นแฟนคลับพรรคไหนมาก่อนและน่าจับตามองจะเป็นกลุ่มคนอายุ 18-26 ปี ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตและอยู่นอกบ้านส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อที่มีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้คงหนีไม่พ้นสื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน

ภวัต เรืองเดชวรชัย

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เม็ดเงินการใช้สื่อโฆษณาของพรรคการเมืองในปีนี้คาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ผ่านมา คือมีเงินสะพัดราว 300-500 ล้านบาท แม้จะมีข้อจำกัดของกกต. ที่กำหนดการโฆษณาของพรรค การเมืองทั้งหมดห้ามโฆษณาผ่านสื่อทีวีโดยตรง ดังนั้นในปีนี้ส่วนตัวมองว่าทุกพรรคการเมืองจะหันมาให้ความสำคัญเรื่องของคอนเทนต์มากขึ้น ซึ่งคอนเทนต์ที่ออกมาจะถูกนำไปไว้ในสื่อประเภทใดก็ขึ้นอยู่กับพรรค การเมืองดังกล่าวต้องการเจาะกลุ่มประชาชนกลุ่มใด อีกทั้งกกต.ยังได้กำหนดงบประมาณโฆษณาการใช้สื่อ โดยกำหนดให้ส.ส.ใช้งบการโฆษณาได้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อคน และไม่เกิน 35 ล้านบาทต่อพรรค”

นอกจากนี้การใช้งบการโฆษณาของพรรคการเมืองครั้งนี้จะช่วยส่งผลให้ภาพรวมของตลาดโฆษณาในปีนี้เติบโตประมาณ 5% เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมเป็นช่วงไฮซีซันของการโฆษณาอยู่แล้ว

สอดคล้องกับความคิดเห็นของนางสาวโศรดา ศรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริลเลียนแอนด์มิลเลียน จำกัด ที่ระบุว่า ขณะนี้เริ่มเห็นพรรคการ เมืองต่างหันมาใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น โดยสิ่งที่พบเห็นขณะนี้คือการที่พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มสร้างแฟนเพจ ในโซเชียลมีเดียของกลุ่ม ตัวเอง โดยในแฟนเพจจะประกอบด้วย แนวคิด สัมมนา อื่นๆ ซึ่งบาง พรรคเจาะลึกไปยังกลุ่มนักศึกษา โดยเน้นการสร้างรูปแบบสกู๊ปออนไลน์ สตอรีเทลลิ่ง ผ่านออน ไลน์เพื่อให้เข้าใจมิติเชิงลึกของนโยบายแต่ละพรรคมากขึ้น

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : thansettakij.com