ผ่านมาถึง 5 เดือนเต็ม แต่เม็ดเงินโฆษณายังคงติดลบต่อเนื่อง จากการเปิดเผยของนีลเส็น พบว่าเดือน พ.ค. 2562 ใช้งบโฆษณารวม 8,789 ล้านบาท
ทีวียังครองเม็ดเงิน 60% ด้วยงบ 5,728 ล้านบาท ตามด้วย สื่อในโรงภาพยนตร์ 664 ล้านบาท สื่อนอกบ้าน565 ล้านบาท
สื่อบนรถประจำทาง 483 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ 475 ล้านบาท วิทยุ 354 ล้านบาท เคเบิลทีวี/ดาวเทียม200 ล้านบาท
สื่อดิจิทัล 146 ล้านบาท สื่อในห้าง 93 ล้านบาท นิตยสาร 81 ล้านบาท
เดือน พ.ค. โฮมช้อปปิ้งยังคงครองอันดับการใช้งบโฆษณาสูงสุด เพื่อต้องการแจ้งเกิดโดยเร็ว น้องใหม่อย่างSanook Shopping Direct Sales จึงอัดงบแซงหน้า TV Direct ไปแบบฉิวเฉียด ด้วยงบโฆษณา 102 ล้านบาท ส่วนทีวีไดเร็คใช้ไป 99 ล้านบาท ห่างกันแค่ 2 ล้านบาท
อันดับ 3 เครื่องดื่มโค้ก 96 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารออมสิน 95 ล้านบาท อันดับ 5 นมผง s-26 รายนี้มาแรง อัดโฆษณาแทบทุกช่วง ใช้งบไป 86 ล้านบาท อันดับ 6 O-Shopping 83 ล้านบาท
อันดับ 7 น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดาวน์นี่ อันดับ 8 Direct Sale Unknow 73 ล้านบาท อันดับ 9 เนสกาแฟ พร้อมดื่ม 73 ล้านบาท อันดับ 10 โทรศัพท์มือถือซัมซุง
บริษัท ยูนีลีเวอร์ (ไทย) ยังคงครองอันดับ 1 แต่การใช้งบโฆษณาลดลง 323 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 215 ล้านบาท อันดับ 3 Unknow Advertising Direct Sale 186 ล้านบาท
อันดับ 4 บริษัท เนทสเล่ (ไทย) 146 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 145 ล้านบาท (ใช้ลดลง) อันดับ 6 บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด 125 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท โคคา–โคลา(ประเทศไทย) 124 ล้านบาท
อันดับ 8 บริษัท เป๊ปซี–โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง 109 ล้านบาท อันดับ 9 GMM Grammy 105 ล้านบาทอันดับ 10 บริษัท ตรี เพ็ชร อีซูซุ เซลส์ 104 ล้านบาท
ทั้งนี้ นีลเส็นแจ้งว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ inbanner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global.
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา
อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง
*****ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา การเก็บข้อมูลจากสื่ออินเทอร์เน็ต เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลจากสื่อดิจิทัล โดยเพิ่มจาก 60 เว็บไซต์ เป็น 200 เว็บไซต์ *****
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : positioningmag.com