คุณรัฐกร สืบสุข อุปนายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย คาดการณ์การใช้งบประมาณในธุรกิจสื่อโฆษณาปี 2563 และการขยายตัวของสื่อ ในภาวะวิกฤต COVID-19
คุณรัฐกร กล่าวว่า “ปี 2020 น่าเป็นห่วงจากสถานการณ์ที่ยังไม่รู้ว่าไปในทิศทางใด ในระยะสั้นอาจจะมีผลกระทบกับสื่อบางสื่อ สินค้าบางประเภทจะเงียบ ขณะที่สินค้าที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกายคึกคักมาก
โดยรวม การเติบโตอยู่ 2.4% ถือว่าใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะต่างกับปีก่อน ที่โตถึง 7.1% สื่อดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลเยอะ เติบโตขึ้น 18% ทั้งนี้เป็นตัวเลขจากสมาคมเอเจนซี่ (DAAT) ตัวเลข 18% ที่เห็นว่าลดลง จากปีก่อนที่โต 25% แต่ยอดเงินอาจจะไม่ได้ลดลง เพราะยังมีเม็ดเงินที่ไม่มีข้อมูล
ภาพรวมทีวี ไม่มีการเติบโต สื่อหนังสือพิมพ์ ติดลบ 24% ส่วนนิตยสาร ติดลบ 20% ขณะที่เป็นปีทองของโรงหนัง โตขึ้น 20% และพวกสื่อขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า โตขึ้น 8%”
-พุทธิพงษ์ ระดมความเห็น สื่อทีวี-ออนไลน์ ตั้งเกณฑ์สื่อเสนอข่าวเหตุการณ์วิกฤติ
Media Marketing ในปี 2019 อยู่ที่ 11,000 ล้านบาท โตขึ้นถึง 32% และมีความเปลี่ยนแปลงใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เป็นกลุ่มไดเร็กเซล ทีวีขายของ ที่ตอนนี้มีแทบทุกช่อง เป็นค่านิยมปกติ ใช้รายการขายของเข้ามาแทนโฆษณาที่ขายไม่เต็ม
ที่น่าสังเกตคือ Media Marketing Corporate, คอนเสิร์ต และ Pay TV มียอดเงินรวมกัน 11,000 ล้าน เช่นกัน ซึ่ง 3 กลุ่มนี้มีผลกับยอดรวมโฆษณาทีวีถึง 5%
ปี 2020 มีเดียจะเป็นอย่างไร?
คุณรัฐกร กล่าวต่อว่า เนื่องจากมีปัจจัยที่ยังไม่รู้แน่ชัด แต่ถ้าดูจากสมมุติฐาน สถานการณ์น่าจะคลี่คลายภายในเดือนเมษายน ไตรมาสที่ 2 จะเริ่มฟื้นตัว แต่ฟืนตัวได้ในไตรมาสที่ 3
การใช้เงินโฆษณาในช่วงที่เกิดวิกฤตยอดเงินจะตกลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็กลับขึ้นมาเร็วเช่นกันหลังจากคลี่คลายได้ เป็นลักษณะ V Shape ถ้าไม่มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง และยังมีช่องเท่าเดิม (ไม่มีการคืนช่องเพิ่ม)
OTT จากต่างชาติ เช่นพวก Netflix AppleTV Disney+ จะไม่มีผลการดึงเม็ดเงินโฆษณา
โรงหนัง หนังฟอร์มยักษ์บางเรื่องจะถูกเลื่อนไปฉายในครึ่งปีหลัง ในกรณีที่โรคระบาดไปถึงในยุโรปและอเมริกา
*ใช้ดาต้าตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง 6 มีนาคมเป็นตัวคาดการณ์
COVID-19 ดึงธุรกิจสื่อติดลบ แต่ออนไลน์ยังรอด
นักวิจัยกสิกรคาดการณ์ว่า โควิด-19 จะทำให้ GDP ไทยโตแค่ 0.5% ถ้าดีที่สุดโตแค่ 1.5% หากควบคุมได้ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งต่างกับปีที่แล้วที่โตขึ้น 2.4%
ด้าน SCB Security เปิดเผยมุมมองนักวิเคราะห์ที่มองต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กับสถานการณ์ โควิด-19 ในแต่ละกลุ่มก็จะมีผลกระทบแตกต่างกันไป บางกลุ่มกระทบจากไวรัสโดยตรง แต่บางกลุ่มกระทบจากปัจจัยอื่น
ตลาดดิจิทัล เป็นกลุ่มที่คาดการณ์ยาก ถ้าไม่มีวิกฤต ปีนี้สื่อดิจิทัลจะโตที่ 15% ที่มูลค่า 20.7 พันล้านบาท จากปีที่แล้วโต 18% แต่หลังจากปรับลดลงคาดการณ์การเติบโตไว้ที่ 12% ที่มูลค่า 20.2 พันล้านบาท
และยังคาดการณ์ว่าทุกสื่อจะติดลบหมด ยกเว้นสื่อดิจิทัล ที่จะโตเล็กน้อยแค่ 12% ภาพรวมจะ -4.4% แต่ในกรณีที่สถานการณ์ไม่คลี่คลายภายในเดือนเมษายน น่าจะมีผลกระทบมากกว่านี้
ธุรกิจรีเทล จะกระทบถ้าคนไม่ออกจากบ้าน ด้านรถยนต์ ที่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเยอะ และส่งสัญญาณตั้งแต่ปี 2019 ว่าไม่ค่อยดี ประเภทส่งออกยังไปได้อยู่ แต่ที่ขายในประเทศมีผลกระทบค่อนข้างเยอะส่งผลให้ไม่เติบโต
ด้าน โอลิมปิก ที่คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดความคึกคักเพราะจัดในเอเชีย แต่ตอนนี้ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไร จะต้องเลื่อนจัดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดการณ์ยาก แต่จะส่งผลกับภาพรวมของสื่ออย่างแน่นอน
สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อขาลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนตัวมองว่ายังไม่ถึงจุดต่ำสุด เพราะคนเปลี่ยนไปเสพสื่ออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ แม็กกาซีน ถูกเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์ (KOL) มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงไปของราคาสื่อที่นี้คาดการณ์ยากมาก ขณะที่ราคาโฆษณาทีวีเฉลี่ยลดลง แต่คนดูลดรามากกว่าราคา เพราะย้ายไปที่แพลตฟอร์มอื่น และการมี 5G จะทำให้คนออกจากทีวีมากขึ้นไปอีก ประกอบกับค่ายมือถือโปรโมทให้คนเข้ามาใช้ดาต้าผ่านมือถือกันมากขึ้น
4-5 ปีที่ผ่านมา คนในตัวเมืองพฤติกรรมเปลี่ยนไปหมดแล้ว ขณะที่คนรอบๆ ตัวเมืองเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพสื่อ แม้กระทั่งคนสูงอายุ เข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ใช้แท็บเล็ตกันมากขึ้น และดูทีวีลดลง ทั้งนี้คาดว่าราคาภาพรวมยังเท่าเดิมอยู่ แต่น่าจะมีการปรับลง เพราะคนหายไปจากจอทีวี
ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โรงหนัง จะยังไม่มีการปรับราคา ขณะที่สื่อมีเดียบิลบอร์ด หรือตามรถไฟฟ้า Out Of Home จะมีการปรับราคาขึ้น 10%
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : businesstoday.co