บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย มีเดียเอเยนซี่ชั้นนำในเครือกรุ๊ปเอ็ม ได้เผยงานวิจัย ‘The New Norms’ How Life Will Unfold After COVID-19 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอันจะทำให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ในสังคมในบริบทหลังวิกฤตการแพร่ระบาดโควิท-19 เพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์เข้าใจถึงความคุ้นเคยใหม่ของชีวิตของผู้บริโภคและสามารถปรับกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจที่มีความท้าทายมากขึ้นในอนาคต
โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้สองผู้เชี่ยวชาญจากมายด์แชร์ ประเทศไทย คุณณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนธุรกิจ และคุณบงกช ชัยเมืองมา ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ เป็นผู้วิเคราะห์และสรุปผลของการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคออกเป็น 7 รูปแบบดังนี้
1. Reverse Globalization
การพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้น จากวิกฤตนี้ทำให้ทั้งแบรนด์และผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความสามารถในการผลิตภายในประเทศและภายในครัวเรือนมากขึ้น เห็นได้จากช่วงที่จีนปิดประเทศจนทำให้ทั่วโลกเกิดภาวะสินค้าบางประเภทขาดตลาด เนื่องมาจากฐานการผลิตส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศจีน อย่างไรก็ดีเราคาดการณ์ว่าแบรนด์ข้ามชาติก็ยังจะผลิตเพื่อตลาดระดับโลก แต่จะเริ่มสร้างการผลิตภายในท้องถิ่นและกระจายหาแหล่งต้นทุนการผลิตที่ไม่ได้พึ่งพาเพียงแค่ประเทศเดียวอีกต่อไป
2. Digital Takeover
แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิท-19 ได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคเปิดใจต่อดิจิตัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยมาตรการที่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเพื่อรณรงค์ ยับยั้งและป้องกันการแพร่เชื้อภายในประเทศทำให้ผู้บริโภคต้องใช้การบริการต่าง ๆ ผ่านรูปแบบดิจิตัลอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ การทำธุรกรรมออนไลน์ หรือแม้กระทั่งประสบการณ์เสมือนจริงในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในระยะยาวมายด์แชร์คาดการณ์ว่าดิจิตัลจะเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานการใช้ชีวิตของผู้บริโภค
3. Emergence of Big Data
เราได้ยินแบรนด์พูดถึงคำนี้มาสักระยะแล้ว แต่ด้วยวิกฤตครั้งนี้ ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างใช้เทคโนโลยีเพื่อประมวลข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการจัดการเรื่องการติดตามผู้ติดเชื้อเพื่อควบคุมการระบาด และการพยายามเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นหากแบรนด์สามารถเประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะสามารถขยายฐานผู้บริโภคได้แม้ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้
4. Elevated Health and Wellness
ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์ใส่ใจสุขภาพมายิ่งขึ้น เห็นได้ชัดว่าในช่วงระบาดของโควิท-19 ผู้บริโภคไทยค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือและเตรียมตัวเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันไม่ให้ตนติดโรค เรื่องสุขอนามัยได้กลายมาเป็นกิจวัตรสำคัญของผู้บริโภคไปโดยปริยาย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดบรรทัดฐานความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของสุขลักษณะอีกด้วย หลาย ๆ แบรนด์ได้ปรับกลยุทธ์ที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์เข้าใจและเตรียมพร้อมในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว และในอนาคตเราคาดการณ์ว่าระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศจะพัฒนาทั้งในเรื่องของคุณภาพและความง่ายต่อการเข้าถึง
5. Physical Distancing Continues
เห็นชัดว่าสถานการณ์ปัจจุบันได้ทำให้ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับการอยู่บ้าน หากิจกรรมสร้างความสนุกภายในบ้านของตนเอง การมีพื้นที่ส่วนตัว การรับบริการและซื้อสินค้าต่าง ๆ แบบส่งถึงบ้านในช่วงที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม สินค้าและบริการของแบรนด์ใดที่สามารถสร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยสำหรับการบริโภคแบบรายบุคคลได้ จะกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้บริโภคให้สนใจและตัดสินใจเลือกซื้อ
6. Happiness is Redefined
ความสุขนิยามใหม่ที่เกิดขึ้นได้จากสิ่งเล็กน้อยและเรียบง่ายที่เกิดขึ้นได้ภายในบ้านและครอบครัว เช่น การมีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ๆ เครื่องครัวทันสมัยมากขึ้น หรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านเพื่อให้เกิดกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้โดยไม่ต้องออกไปข้างนอก จึงนับเป็นความท้าทายใหม่ของแบรนด์ในการเข้าไปเป็นส่วนนึงของความสุขนิยามใหม่นี้
7. Prepare for the Next Disruption
เห็นได้ชัดว่าวิกฤตครั้งนี้ได้ทำให้ทั้งแบรนด์และผู้บริโภคต่างตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมหากเกิดวิกฤตครั้งใหม่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพยายามพึ่งพาตนเองและเสริมทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นในชีวิต หรือการทำงานจากบ้านที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ ในช่วงรักษาระยะห่างทางสังคม ทั้งนี้ในอนาคตแบรนด์จึงควรมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมหรือช่วยเหลือให้ผู้บริโภคสามารถพึ่งพาตนเองได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Mindshare ได้ที่ www.mindshareworld.com/thailand
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : adaddictth.com