Contact us on +668 4668 1993 or aspasign2020@gmail.com

จับชีพจรปี 2564 สำรวจธุรกิจ ‘ดาวรุ่ง ดาวร่วง’ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

จับชีพจรปี 2564 สำรวจธุรกิจ ‘ดาวรุ่ง ดาวร่วง’ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19
January 3, 2021 dhammarong

จับชีพจรปี 2564 ปีที่ยังต้องเผชิญวิกฤติโควิด-19 สำรวจธุรกิจ “ดาวรุ่ง ดาวร่วง” แห่งปี พร้อมปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังต่างๆ

ผ่านพ้นไปอีกปี สำหรับปี 2563 นับเป็นปีที่ยากลำบากของหลายคน รวมถึงบรรดาธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) กระทั่งรัฐประกาศมาตรการล็อกดาวน์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนการชัตดาวน์ธุรกิจ แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่สร้างผลกระทบมหาศาล 

วิกฤติที่เข้ามาอย่างไม่ตั้งตัวและไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงเมื่อใด ยิ่งซ้ำเติมธุรกิจขนาดเล็กและกลาง รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่ยังไม่เริ่มปรับตัว จากกระแสดิจิทัล ดิสรัปชั่น หรือกำลังปรับตัวอย่างเชื่องช้า หากฉายภาพย้อนกลับไปในปี 2563 จะเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ล้มหายตายจากไป ขณะเดียวกันบางกลุ่มธุรกิจกลับได้รับอานิสงส์จากวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้

ขณะที่ปี 2564 ทั้งองค์กรธุรกิจและคนทำงานหรือพนักงาน อาจเกิดคำถามว่า ในปีนี้ธุรกิจ หรือลักษณะการทำงานรูปแบบใดจะยังคงได้ไปต่อ มีโอกาสของการเติบโต ตอบรับเทรนด์ความต้องการผู้บริโภค หรือตรงโจทย์ของการทำงานบ้าง และรูปแบบใดมีความเสี่ยงสูงหากไม่เกิดการปรับตัว

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ การแทรกซึมของ “เทคโนโลยี” ที่วันนี้อยู่รอบตัวเรา ไปจนถึงเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และยิ่งจะทวีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอีก ตอกย้ำด้วยข้อมูล จากบทความ “ทักษะแห่งอนาคต” เขียนโดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ที่อ้างอิงรายงานชื่อว่า The Future of Jobs Report 2020 ของ World Economic Forum ที่มีการพูดถึงเรื่องของ Double Disruption จากเทคโนโลยีและโควิด-19 

ส่งผลให้ปีนี้รูปแบบของงานและทักษะที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ องค์กรธุรกิจจะต้องลดจำนวนพนักงานลง เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน ทักษะสำหรับการงานใหม่จะไม่เหมือนเดิม แม้อัตราการเพิ่มของงานใหม่จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าอัตรางานเดิมที่จะหายไป แน่นอนว่าหากไม่ปรับตัวจะกลายเป็นอุปสรรค และสะดุดขาตัวเองตกม้าตายได้ การปรับตัวให้ทันคือทางรอด

ขณะที่การจัดอันดับธุรกิจดาวรุ่งประจำปีของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ก็ปรากฏกลุ่มธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีเกินกว่าครึ่ง

  • 10 อันดับธุรกิจ “ดาวรุ่ง” ปี 2564    มีดังนี้

1.ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงามธุรกิจ e-commerce (ธุรกิตที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)

2.ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์), ธุรกิจจักทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtube และการรีวิวสินค้า

3.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต

4.ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

5.ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดกาข้อมูล (Big Data, Data Analysict)

6.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ

7.ธุรกิจสตรีทฟู้ด และฟู้ดทรัค

8.ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ และเดลิเวอรี่ธุรกิจด้านฟินเทค (Fintech) และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี

9.ธุรกิจพลังงานธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เข่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ เป็น

10.ธุรกิจที่ปรึกษาด้านกฎหมายและบัญชีธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่แม้ไม่ได้ติดโผ 10 อันดับดาวรุ่ง แต่ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจความเชื่อ ธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านท่องเที่ยว ธุรกิจโฮสเทล modern tourism และ lifestyle tourism รวมถึงธุรกิจเกม ธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่น ธุรกิจเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการโครงข่าย และธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว

  • 10 อันดับธุรกิจ “ดาวร่วง” แห่งปี 2564   มีดังนี้

1.ธุรกิจเช่าหนังสือ

2.ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องโทรสารธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ Storage media เช่น CDs,  DVDs, Blu-Ray Discs, External Hard Drives, Memory Cards 

3.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร

4.ธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตธุรกิจคนกลาง 

5.ธุรกิจดั้งเดิมไม่มีดีไซน์ และใช้แรงงานเยอะ (เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น)

6.ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานจำนวนมากและขายในประเทศธุรกิจหัตถกรรมและเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ดังเดิมที่ไม่ได้มีการปรับตัว)

7.ธุรกิจซ่อมรองเท้า

8.ธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิมธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก

9.ธุรกิจผลิตผักและผลไม้อบแห้ง

10.ธุรกิจร้านถ่ายรูป

ซึ่งในปี 2564 กลุ่มธุรกิจต่างๆ ยังต้องเผชิญกับปัจจัยบั่นทอนอยู่หลายประการ ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ซึ่งจะกลุ่มต่อกลุ่มธุรกิจอย่างสายการบิน นำเที่ยว โรงแรม ของที่ระลึก จัดประชุมแสดงสินค้า ผับ บาร์ สปา โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารภัตตาคาร และอสังหาริมทรัพย์แนวดิ่ง

นอกจากนี้ยังคงต้องจับตาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ส่วนปัจจัยภายในประเทศอย่างการเมืองก็ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลงไป ทางด้านภาวะเศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก 2564 อีกทั้งยังต้องเผชิญเงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าปกติ และหนี้เสีย (NPL) ของสถานบันการเงินมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น 

ดังนั้นสำหรับผู้ทำงาน จะทำอย่างไรให้มีงานทำต่อไป และไม่เสี่ยงต่อการถูกให้ออกจากงาน จำเป็นต้องรู้จักทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษ 21 ข้อมูลจากหนังสือรวมมิตร คิดเรื่องการเรียนรู้ โดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สบรสรุปไว้ 3 ทักษะสำคัญดังนี้

1.ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม องค์ประกอบสำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม รู้จักแก้ปัญหาเป็น มีการสื่อสารที่ดี และเต็มใจที่จะร่วมมือ

2.ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และฉลากที่จะสื่อสาร 

3.ทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งจะต้องมีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว และริเริ่มสิ่งใหม่ 

การปรับตัวขนานใหม่ปี 2564 ไม่เพียงแค่องค์กร แต่รวมถึงผู้ทำงานด้วย ที่จะช่วยกันนำพาให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : bangkokbiznews.com