Bangkok Metro Networks (BMN) เป็นผู้ดำเนินการธุรกิจพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และสื่อโฆษณาภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT จากบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ประกอบธุรกิจจัดทำสื่อโฆษณาบริเวณสถานีรถไฟฟ้า 38 สถานี ภายในขบวนรถไฟฟ้าอีก 54 ขบวน รวมถึงพื้นที่ร้านค้า และพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการให้บริการรถไฟฟ้า MRT เข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนเมืองเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนที่ตรงเวลา และรวดเร็ว อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในระหว่างการเดินทางอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าในเมโทรมอลล์ ซึ่งมีไว้รองรับผู้โดยสารทั้งหมดจำนวน 8 สถานี  สำหรับคนเมืองที่มีเวลาน้อยและใช้ชีวิตเร่งรีบ นอกจากนั้นผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า MRT อีกสิ่งหนึ่งที่จะได้พบเจอคือ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ของสินค้าต่าง ๆ และกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าใครกันหนอ ที่เข้ามาอยู่ตรงจุดนี้ได้ และนี่ถือเป็นโอกาสดีที่ได้พูดคุยกับคุณวิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท Bangkok Metro Networks (BMN)  ถึงแคมเปญและธุรกิจของ Bangkok Metro Networks (BMN ) ว่าอะไรทำให้มีแนวคิดที่อยากให้ผู้โดยสาร MRT มีความสุข

ที่มาของแคมเปญ The Happy Commercial Hub of MRT คืออะไร

ก่อนอื่นต้องบอกว่า สิ่งที่เราทำในระบบ MRT อยู่นั้น เราตระหนักถึงความสำคัญของผู้โดยสารเป็นหัวใจหลัก ทีนี้เราเลยมองว่าผู้ที่มาใช้บริการของเราทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สัญจรไปมาในระบบรถไฟฟ้า MRT  การเห็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า และกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มาใช้บริการในเมโทรมอลล์ เราอยากให้พวกเขามีความสุขในทุก ๆ ครั้งที่มา แต่อะไรที่จะตอบโจทย์นั้นได้ เราจึงต้องพัฒนาการให้บริการใน MRT อย่างต่อเนื่อง ให้กลายเป็นศูนย์กลางการให้บริการครบวงจร เราทุ่มเทในการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงรูปแบบของสื่อโฆษณาไม่ให้จำเจ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆให้กับผู้โดยสารที่ได้รับจากสื่อโฆษณาในรูปแบบที่แปลกใหม่และน่าสนใจ และส่วนของเมโทรมอลล์ ที่มีร้านอาหาร ร้านค้ากับแบรนด์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเราได้ทำการวิจัยและคัดสรรร้านค้าจากความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชีวิตคนกรุงเทพฯที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันเป็นหลัก เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่ผู้โดยสารอยากได้คือความสุข ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระยะใกล้ หรือไกล ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า “The Happy Commercial Hub of MRT”

แนวโน้มการลงทุนในปี 2564 ของ BMN

เรามีโปรเจกต์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากความต้องการของนักการตลาดและนักโฆษณา เพื่อตอบโจทย์แคมเปญของแต่ละแบรนด์ และอีกส่วนหนึ่งเราก็ Transform พื้นที่ จากพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและสร้างจุดเด่นให้ได้มากยิ่งขึ้น ปรับเปลี่ยนกล่องไฟ เปลี่ยนจากสติ๊กเกอร์ เป็นจอดิจิตอล พร้อมกับนำ Technology LED Motion เข้ามาผสมผสาน ก็จะสามารถดึงดูดสายตาผู้คนมากขึ้นด้วย ในแง่การลงทุนเราก็ไม่ทำเฉพาะ Offline แต่เรามีการนำสื่อ Interactive เข้ามาใช้กับผู้โดยสารเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับสื่อของเรา ให้สอดคล้องไปกับโฆษณาและแคมเปญของแบรนด์ได้ ฉะนั้นการลงทุนเราจะเน้นเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ให้กับลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าในอนาคตที่กำลังจะเข้ามา ทั้งยังลงทุนในกรอบของสัมปทานของ MRT ซึ่งในปัจจุบัน เราไม่ได้อยู่ใต้ดินเพียงอย่างเดียว  แต่ MRT ยังมีสถานีลอยฟ้าอีกด้วย นอกจากนี้เรายังมีพื้นที่ OnGround ซึ่งสามารถทำสื่อโฆษณาหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์ได้อีก อย่างเช่นย่านถนนรัชดาภิเษก สุขุมวิท พระราม 4  ซึ่งถือเป็นย่านธุรกิจหลักของกรุงเพทพฯ ที่มีการสัญจรไปมาบนถนนอย่างคับคั่ง  ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับนักการตลาด และนักโฆษณาในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้า และกิจกรรมของแบรนด์ไปยังผู้บริโภคได้อีกด้วย

มีการพูดถึง Disruption กันเยอะ ในธุรกิจสื่อโฆษณามีเตรียมรับมืออย่างไร

จริง ๆ แล้วผมมองว่าในแง่ของสื่อ Out of Home กระทบนิดหน่อย ในแง่ว่านักการตลาดจะจัดสรรงบประมาณในการใช้กับแต่ละสื่ออย่างไร แต่ผมเชื่อว่าการเดินทางนอกบ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของคนกรุงเทพฯอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีของสื่อ Out of Home ที่ยังสามารถเป็นสื่อหลักและมีความจำเป็นต่อการสื่อสารการตลาดในยุคปัจจุบัน ยิ่งหากเรานำเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อม Offline กับ Online เข้าด้วยกันได้ จะยิ่งสามารถเสริมศักยภาพให้สื่อ Out of Home แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้โดยสารเดินทางจากสถานีเตาปูนแล้วอยากซื้อสินค้าสักชิ้น เค้าสามารถสแกนซื้อที่สถานีผ่านระบบ Online แล้วไปรับของที่ปลายทางอย่างสถานีสุขุมวิท พร้อมกับรับสิทธิพิเศษต่างๆจาก Partner ของ BMN ได้เลยเป็นข้อได้เปรียบของการนำ Online มา merge กับ Offline มากกว่าที่จะกลัวผลกระทบของการ Disruption

รูปแบบสื่อโฆษณาใหม่ ๆ ของ BMN

BMN เรานำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น อย่างเช่นที่เรากำลังจะเปิดเร็ว ๆ นี้ ตรงบริเวณด้านหน้า MRT สถานีสีลม ซึ่งเป็น Prime location ใจกลางกรุงเทพฯ โดยเราจะพัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นจอดิจิตอลทั้งหมด และทำเป็นโปรดักชั่นในรูปแบบ 4D ด้วย location เดิมแต่เพิ่มลูกเล่นของเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อปรับเปลี่ยนให้สื่อของเราน่าสนใจยิ่งขึ้น

ทิศทางในการบริหารงานต่อไปของธุรกิจ BMN

เราคงยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาธุรกิจของเราใน MRT ให้ดียิ่งขึ้น ทำอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทำให้สื่อที่เรามีเป็นเสมือน Shelf ขายของอย่างเช่น ลูกค้าเห็นสื่อปุ๊บ ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ และรอรับที่ปลายทาง ไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามได้เลยซึ่ง BMN กำลังพัฒนา Platform นี้อยู่ เราตระหนักถึงจำนวนผู้โดยสารที่มีอย่างมหาศาลในแต่ละวัน และเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของแนวทางการพัฒนาพื้นที่เชิงพานิชย์ใน MRT ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ประเภทของร้านค้าในเมโทรมอลล์ หรือการจัดกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ และให้ประโยชน์กับสังคมไทยในปัจจุบันและนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “The Happy Commercial Hub of MRT” 

ลองนึกภาพดูเล่นๆ ถ้าหากคุณได้เดินทางโดย MRT ครั้งหน้า แล้วได้ดู Mini Concert ระหว่างทาง ได้ร่วมเล่นเกมกับจอดิจิตอลตามสถานีต่าง ๆ หรือซื้อสินค้า และบริการที่คุณต้องการได้แบบไม่ต้องรอ นี่แหละครับคือผลงานของ Bangkok Metro Networks (BMN)

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : komchadluek.net